ชีวิตออนไลน์ รอบตัว การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา



บทนำสู่โครงการวิจัยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา

บทนำสู่โครงการวิจัยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติยุคใหม่ ที่ทำให้ชาวกัมพูชาอย่างน้อย 1.7 ล้านคนเสียชีวิตเช่นเดียวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเยอรมันนียุคนาซี ยูโกสลาเวีย และรวันดา ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในกัมพูชาเป็นผลของแนวทางการเมืองแบบสุดขั้วที่เน้นการกดขี่กวาดล้าง สร้างความทุกข์ทรมานและอาชญากรรมในระดับที่กว้างขวางโดยไม่ยี่หระต่อคุณค่าของชีวิต อย่างไรก็ตาม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชามีความแตกต่างจากเหตุการณ์อื่นอยู่ตรงที่ว่า เป็นเวลาหลายปีที่เอกสารหลักฐานจำนวนมากที่เกี่ยวข้องมิได้รับการสืบเสาะค้นคว้าและรวบรวมขี้นมา นอกจากนี้ การสอบสวนเพื่อนำตัวผู้ก่ออาชญากรรมมาลงโทษก็เพิ่งจะเริ่มดำเนินการเมื่อไม่นานมานี้เอง

ในเดือนธันวาคม 2537 โครงการวิจัยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา(ค.ฆ.ก.) ของมหาวิทยาลัยเยล ได้รับเงินทุนจำนวน499,000 ตอลลาร์สหรัฐฯจากหน่วยงานสืบสวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา ของกรมเอเชียตะวันออกและแปซิฟิค กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา และโดยทันที ค.ฆ.ก. ได้เริ่มงานค้นคว้ารวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวกับการสังหารหมู่ในกัมพูชาภายใต้ระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยที่นำโดยพอล พต ระหว่างปีพ.ศ. 2518-2522 ทั้งนี้ เป้าหมายหลักของ ค.ฆ.ก. คือ 1) รวบรวมและศึกษาข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์กัมพูชาในช่วงเวลาดังกล่าว 2) สนับสนุนข้อมูลแก่ศาลหรือศาลพิเศษที่ดำเนินการพิจารณาคดีอาชญากรสงครามในกัมพูชา และ 3) เผยแพร่ความคิดความเข้าใจที่ผ่านการวิพากษ์วิเคราะห์เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วยความหวังว่าความเข้าใจต่างๆเหล่า
นี้จะสามารถช่วยป้องกันการความรุนแรงต่อประชาชนในที่ต่างๆของโลกในอนาคตได้ ทั้งนี้ กิจกรรมของค.ฆ.ก.แบ่งเป็นสี่ลักษณะด้วยกันคือ การสืบเสาะค้นหารวบรวมหลักฐาน การเก็บรักษาหลักฐาน การวิจัย และการฝืกฝน

กล่าวได้ว่า ค.ฆ.ก.ได้เริ่มงานนี้ในจังหวะที่ถือเป็นฤกษ์ดีของการเมืองในกัมพูชาที่อุปสรรคบางประการต่อการค้นคว้าวิจัยเกี่ยว
กับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้ถูกขจัดออกไป กล่าวคือ เป็นจังหวะที่สงครามเย็นได้ยุติลง, สหรัฐอเมริกาได้ยุติการปิดกั้นทางเศรษฐกิจและการทูตต่อกัมพูชา ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการหลั่งไหลของความคิด, ข้อมูลข่าวสาร และสินค้าเข้าสู่กัมพูชา, การเลือกตั้งในกัมพูชาในปี 2536 ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติได้ในไปสู่การโดดเดี่ยวทางการเมืองต่อกลุ่มเขมรแดง ซึ่งในช่วงเวลานั้นยังถือได้ว่าเป็นกลุ่มทางการเมืองที่ได้รับการยอมรับจากบางฝ่ายอยู่ และในปี 2538 สภาคองเกรสของสหรัฐฯก็ได้ผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาลอเมริกันที่จะดำเนินการให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและประชาคมนานา
ชาติ ภารกิจของค.ฆ.ก. จึงไม่เพียงแต่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีทั้งจากในและนอกประเทศกัมพูชา แต่ยังถือไดัว่าเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

ค.ฆ.ก.ได้อาศัยหลักฐานนานาชนิดเพื่ออธิบายให้เห็นถึงสภาพการณ์ทางสังคมและการเมืองที่ทำให้ชาวกัมพูชาเกื
อบหนึ่งในห้าต้องเสียชีวิตลง การรวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่เป็นผลของประสบการณ์กว่า 20 ปีของการศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงสำคัญของการเมืองกัมพูชาและของโลก เรื่องราวโดยละเอียดของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาที่ปรากฎออกมาเป็นสิ่งที่รอบด้านและสมบูรณ์ และยังเปิดให้กับสาธารณชนทั้งที่เป็นชาวกัมพูชา, นักวิชาการต่างชาติ และนักกฎหมายได้ใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย นอกจากนึ้ การทำงานอย่างต่อเนื่องของค.ฆ.ก. และศูนย์ค้นคว้ารวบรวมเอกสารของกัมพูชา ซึ่งเป็นองค์กรพันธมิตรของค.ฆ.ก.ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยเติมเต็มทรัพยากรทางวิชาการให้กับภารศึกษาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังเป็นแม่แบบที่สำคัญให้กับการศึกษาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในอนาคตได้อีกดัวย และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ ค.ฆ.ก.เป็นความพยายามที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในการผสมผสานงานทางวิชาการ เข้ากับศิลปะในการใช้เทคโนโลยีและกลไกทางกฎหมายนานาชาติ เหล่านี้ถือเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยปิดฉากให้กับเหตุการณ์ที่นับเป็นเป็นหนึ่งในหายนะภัยที่เลวร้ายที่สุดของมนุษยชาติในศตวรรษที่ 20

ที่มาgsp.yale.edu/

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *